โรคความดันสูงเป็นหนึ่งในภัยเงียบที่คุกคามสุขภาพของคนไทยมากขึ้นทุกปี เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งความเร่งรีบ ความเครียดและการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ซึ่งโรคความโลหิตดันสูงนี้มักไม่แสดงอาการชัดเจนในระยะแรก แต่หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงที่ส่งผลต่อหลอดเลือดและหัวใจได้ ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคความดันสูง จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เราสามารถป้องกันและดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้อง
การดูแลรักษาโรคความดันสูงเบื้องต้นสามารถทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสม ซึ่งจะช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้
การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือดและนำไปสู่การตีบตัน โดยเฉพาะสารนิโคตินในบุหรี่จะทำให้หลอดเลือดหดตัวและสูญเสียความยืดหยุ่น ส่งผลให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นในการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ทำให้ความดันสูงขึ้นและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
ความเครียดกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลและอะดรีนาลีน ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น หลอดเลือดหดเกร็งและความดันโลหิตสูงขึ้น การจัดการความเครียดด้วยการทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ เช่น ฟังเพลง วาดรูป ทำสมาธิหรือออกกำลังกายเบา ๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์เป็นปัจจัยสำคัญในการควบคุมความดันโลหิต โดยควรเน้นการรับประทานผักและผลไม้ที่ไม่หวานจัด ลดปริมาณไขมันอิ่มตัวและหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัด เพราะยิ่งอายุมากขึ้น ร่างกายจะเผาผลาญพลังงานได้น้อยลง โดยอาหารที่สามารถทานได้ และดีต่อร่างกายจะมีดังนี้
ธัญพืชและถั่วไม่ขัดสี เช่น ข้าวแป้งไม่ขัดสี อัลมอนด์ ถั่วลิสง ฯลฯ
เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เน้นไปที่เนื้อแดงไม่ติดมัน และรับประทานปลา เพื่อเพิ่มโอเมก้า 3
ผักและผลไม้ ควรทานผักและผลไม้สด ไม่แนะนำให้ทานผลิตภัณฑ์แปรรูปต่าง ๆ
สมุนไพร เช่น กระเจี๊ยบแดง ขึ้นฉ่าย กระเทียมและตะไคร้
ทั้งนี้ ควรรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากหรือน้อยเกินไป เพราะหากรับประทานมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้ และอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น น้ำหนักเกิน โรคเบาหวานหรือภาวะไขมันในเลือดสูง ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่อาจทำให้โรคความดันสูงแย่ลงได้
โรคความดันสูงเป็นภัยเงียบที่สามารถส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพ แม้จะไม่แสดงอาการชัดเจนในระยะแรก แต่สามารถป้องกันและควบคุมได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ทั้งการออกกำลังกายสม่ำเสมอ การควบคุมอาหาร การงดสูบบุหรี่และแอลกอฮอล์ รวมถึงการจัดการความเครียดอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ การตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอยังเป็นวิธีที่ดีในการเฝ้าระวังและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
และหากคุณกำลังมองหาตัวช่วยในการดูแลสุขภาพที่บ้าน เพื่อความสะดวกในการติดตามอาการและค่าความดันได้ในทุก ๆ วัน แต่ไม่มั่นใจว่าควรจะเลือกเครื่องวัดความดันยี่ห้อไหนดี แนะนำให้พิจารณาเลือกจากแบรนด์ที่ได้มาตรฐานในการผลิต และได้รับอนุญาตจาก อย. ควรเลือกจากฟังก์ชันในการใช้งานเป็นหลักสำคัญ ซึ่งเครื่องวัดความดันโลหิต จาก OMRON ผ่านการรับรองการมาตรฐานสากล ผสานด้วยเทคโนโลยีจากประเทศญี่ปุ่น สามารถใช้งานง่าย มีให้เลือกหลากหลายรุ่น และยังมาพร้อมหน้าจอแสดงผลอ่านค่าได้ง่าย เหมาะสำหรับผู้ที่ใส่ใจดูแลสุขภาพร่างกายเป็นประจำ สามารถหาซื้อได้ที่ร้านขายยาชั้นนำหรือสั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ได้ผ่าน Shopee และ Lazada แล้ววันนี้!
ประพนธ์ ดิษฐ์รุ่งโรจน์. (2017). ปรับพฤติกรรม ลดความดันโลหิต.
สืบค้นจาก https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/ปรับพฤติกรรม-ลดความดัน
พรีโมเเคร์ เมดิคอล. (2022). 7 วิธีลดความดันสูงแบบธรรมชาติ ปรับไลฟ์สไตล์ ลดการใช้ยา.
สืบค้นจาก https://primocare.com/วิธีลดความดันสูง/
เต็มดวง เชื้อหิรัญ. (ม.ป.ป.). ความดันโลหิตสูง (Hypertension) อาการ สาเหตุ และการรักษา.
สืบค้นจาก https://www.medparkhospital.com/disease-and-treatment/high-blood-pressure-hypertension
โรงพยาบาลนนทเวช. (ม.ป.ป.). ความดันโลหิตสูง สาเหตุ อาการ วิธีเลี่ยงให้ความดันปกติ.
สืบค้นจาก https://www.nonthavej.co.th/HYPERTENSION.php
โรงพยาบาลศิครินทร์. (ม.ป.ป.). โรคความดันโลหิตสูง ภัยเงียบต่อหลอดเลือดและหัวใจ.
สืบค้นจาก https://www.sikarin.com/health/โรคความดันโลหิตสูง
โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์. (2024). คุณเป็นความดันโลหิตสูงรึเปล่า?.
สืบค้นจาก https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/hypertension
Previous article โรคหลอดเลือดสมองรบกวนชีวิตประจำวันของคุณอย่างไรและสามารถป้องกันได้อย่างไร |
Next article แนะวิธีเลือกเครื่องวัดความดันยี่ห้อไหนดี เลือกอย่างไรดี |