บทความนี้ได้รับการตรวจสอบทางการแพทย์โดย Dr. Gilbert C. Vilela, PSB of Cardiology | President, Philippine Heart Association 2022 | Department of Education, Philippine Heart Center
จากข้อมูลของศูนย์ควบคุมโรคในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา ระบุว่าการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองมีหลักการคล้ายคลึงกันในการควบคุมปัจจัยเสี่ยง โรคหลอดเลือดสมองสามารถป้องกันได้ มากถึง 80% ด้วยการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตที่ดีต่อสุขภาพภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เพื่อช่วยจัดการความเสี่ยงของคุณ
วิธีลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองมีดังนี้ :
เคลื่อนไหวมากขึ้น
การอยู่เฉยๆ อาจนำไปสู่โรคอ้วน คอเลสเตอรอลสูง เบาหวาน และความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง พยายามออกกำลังกายระดับปานกลางถึงระดับหนักอย่างน้อย สองชั่วโมงครึ่งต่อสัปดาห์ หรือออกกำลังกายเป็นเวลา 30 นาทีต่อวัน อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ และเคลื่อนไหวร่างกายให้มากขึ้นเพื่อลดโอกาสในการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพสามารถลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองและช่วยให้คุณลดน้ำหนักได้อย่างที่ต้องการ ซึ่งสามารถทำได้ ดังนี้
ดื่มแต่พอดี
แอลกอฮอล์สามารถทำให้เกิดความดันโลหิตสูงและภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ นอกจากนี้ยังสามารถทำให้มีน้ำหนักเกินและเกิดโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมได้ สิ่งเหล่านี้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
หยุดสูบบุหรี่
จากการศึกษาพบว่า การสูบบุหรี่ 5 มวนในแต่ละวัน ทำให้ความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นถึง 12% การหยุดสูบบุหรี่จะช่วยลดความเสี่ยงของคุณในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
ควบคุมดูแลอาการอื่นๆ
หากคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (หัวใจเต้นผิดปกติ) ตรวจดูให้แน่ใจว่าอาการของคุณได้รับการควบคุณอย่างดี นี่เป็นสิ่งสำคัญในการช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง
ควบคุมความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับทั้งโรคหลอดเลือดสมองเกิดตีบหรืออุดตันและหลอดเลือดสมองแตก เป็นปัจจัยเสี่ยงที่มากถึง 90% ของโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด และคาดว่าการควบคุมความดันโลหิตที่ดีช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดสมองได้มากถึง 40%
ทำความเข้าใจและควบคุมความดันโลหิตของคุณให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
เพื่อรักษาความดันโลหิตของคุณให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ตรวจวัดเป็นประจำที่บ้าน การทำความเข้าใจความหมายของค่าตัวเลขจะเป็นประโยชน์อย่างมาก การอ่านค่าความดันโลหิตมี 2 ส่วน ตัวเลขตัวแรกหรือค่าความดันโลหิตตัวบนเรียกว่าความดันโลหิตซิสโตลิก แสดงถึงความดันขณะหัวใจเต้น ตัวเลขที่สองหรือค่าความดันโลหิตตัวล่างคือความดันโลหิตไดแอสโตลิก ซึ่งจะบอกถึงความดันเมื่อหัวใจของคุณอยู่ระหว่างจังหวะหรือขณะพัก ความดันนี้มีหน่วยวัดเป็นมิลลิเมตรปรอท (mm Hg)
ความดันโลหิตปกติของผู้ใหญ่คือ 120/80 มม.ปรอท หากความดันโลหิตขณะบีบตัวของคุณอยู่ระหว่าง 120 ถึง 139 มม.ปรอท และความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัวอยู่ระหว่าง 80 ถึง 89 มม.ปรอท แสดงว่าคุณมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองในระดับปานกลาง หากความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวของคุณอยู่ที่ 140 มม.ปรอทหรือสูงกว่า และความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัวของคุณคือ 90 มม.ปรอทหรือสูงกว่า แสดงว่าคุณมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
ความดันโลหิตผันผวนตลอดทั้งวัน สำหรับบางคน ความดันเลือดจะสูงขึ้นเมื่อวัดในสถานพยาบาล ภาวะนี้เรียกว่า ความดันโลหิตสูงชั่วคราวเฉพาะที่โรงพยาบาลหรือคลินิก (White-coat hypertension) ดังนั้น จึงเป็นประโยชน์อย่างมาก ที่จะรู้ค่าความดันโลหิตเฉลี่ยของคุณโดยการวัดความดันโลหิตที่บ้าน
ตรวจสอบอุปกรณ์ที่ตรวจจับภาวะหัวใจห้องบน ภาวะหัวใจห้องบนเป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบบ่อยที่สุดและเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคหลอดเลือดสมอง การหมั่นตรวจที่บ้านเป็นประจำสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองหรือหัวใจวายได้
ตอนนี้คุณรู้วิธีป้องกันโรคหลอดเลือดสมองแล้ว ลองพยายามเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้จะสามารถช่วยชีวิตคุณได้ในที่สุด
เริ่มก้าวแรกของคุณด้วยการวัดความดันโลหิต
ตรวจสอบ เครื่องวัดความดันโลหิตจาก OMRON เพื่อสุขภาพหัวใจที่ดีของคุณ
SOURCES:
https://www.cdc.gov/vitalsigns/stroke/index.html
https://www.cdc.gov/stroke/prevention.htm
https://myhealth.alberta.ca/Health/Pages/conditions.aspx?hwid=hw223366
https://www.cdc.gov/stroke/prevention.htm
https://www.caringseniorservice.com/blog/preventing-strokes-through-blood-pressure-monitoring
Validated by: Alejandro F. Diaz, MD
Member, RUSH Stroke Team, UST FMS
Past Member, Stroke and Neuromuscular Council, Philippine Neurological Association’
Fellow, Philippine Neurological Association
Previous article Cách ngăn ngừa đột quỵ trước khi “hiểm họa” ập đến - Vietnam |
Next article Unravelling the truth about your racing heart: What is Atrial Fibrillation? |