Healthcare Asia Pacific
ทั้งหมดเพื่อการดูแลสุขภาพ
หน้าหลัก > กิจกรรม > ปัญหาภาวะหัวใจสั่นพริ้ว (A-Fib) รู้ตัวก่อน ป้องกันได้เร็วกว่า ด้วยนวัตกรรมเฝ้าระวังสุขภาพจากเทคโนโลยีของ Omron

ปัญหาภาวะหัวใจสั่นพริ้ว (A-Fib) รู้ตัวก่อน ป้องกันได้เร็วกว่า ด้วยนวัตกรรมเฝ้าระวังสุขภาพจากเทคโนโลยีของ Omron

โดย Omron Thailand, 20 Nov 2021


 

โรคภาวะหัวใจสั่นพริ้ว (Atrial fibrillation หรือ AF หรือ A-Fib) เป็นภาวะการเต้นผิดปกติของหัวใจที่พบได้บ่อยที่สุดโดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุ มีโอกาสในการตรวจพบได้ร้อยละ 1-2 ของประชากรทั่วไปเลยทีเดียว ยิ่งถ้าเป็นผู้สูงอายุโอกาสในการเป็นโรคภาวะหัวใจจะขึ้นไปสูงถึงร้อยละ 5-15 นอกจากนี้โรคภาวะหัวใจสั่นพริ้วยังอาจพบได้พร้อมกับโรคหัวใจอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ หรือโรคลิ้นหัวใจรั่ว เป็นต้น

 

ภาวะหัวใจสั่นพริ้ว จะเป็นภาวะที่หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ เต้นช้าบ้าง เร็วบ้าง ไม่มีความสม่ำเสมอ ทำให้การบีบตัวของหัวใจห้องบนเสียไป หัวใจจะเต้นเร็ว ผลกระทบที่สำคัญของโรคภาวะหัวใจสั่นพริ้วคือจะเกิดเลือดที่แข็งตัวในหัวใจห้องบนซ้าย ซึ่งมีโอกาสที่จะหลุดเข้าไปในกระแสเลือด ทำให้เกิดอาการอัมภาต หรืออัมพฤกษ์ได้ หรือหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ก็จะนำไปสู่ภาวะหัวใจวายได้ในที่สุด

สาเหตุของภาวะหัวใจสั่นพริ้ว

  • สาเหตุของโรคภาวะหัวใจเต้นสั่นพริ้ว อาจจะเกิดได้หลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น
  • เช่น โรคลิ้นหัวใจรั่ว หรือตีบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ โรคหัวใจขาดเลือด ภาวะความดันโลหิตสูง เป็นต้นโรคหัวใจ และหลอดเลือด 
  • เช่น โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคปอด โรคถุงลมโป่งพอง(COPD) ภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือด สมองขาดเลือด เป็นต้นโรคในระบบอื่น ๆ 
  • เคยทำการผ้าตัวหัวใจ หรือผ้าตัดสินหัวใจ
  • ความเครียด ความเหนื่อย ความอ่อนล้า
  • ดื่มเหล้า เบียร์ กาแฟ หรือสูบบุหรี่จัด
  • การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • การออกกำลังกายที่ไม่เพียงพอ หรือมากจนเกินไป
  • กรรมพันธุ์


อาการของโรคภาวะหัวใจเต้นสั่นพริ้ว


นื่องจากโรคภาวะหัวใจเต้นสั่นพริ้วมีผลทำให้ปริมาณเลือดที่หัวใจบีบตัวทำให้ผู้ป่วยบางรายอาจจะแสดงอาการที่ชัดเจน แต่กับผู้ป่วยบางรายก็อาจจะไม่มีอาการใด ๆ เลยก็ได้ ทำให้ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงควรสังเกตตัวเองให้ดีว่าหากมีอาการต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
  • ใจสั่นอย่างทันทีทันใด และหัวใจเต้นเร็วไม่สม่ำเสมอ บางคนจะรู้สึกเหมือนว่าทรวงอกบริเวณหัวใจกระเพื่อม
  • ความดันโลหิตต่ำ ในขณะที่หัวใจเต้นเร็วมาก ทำให้เกิดเป็นอาการหน้ามืด เป็นลม เวียนศีรษะ หน้าซีดได้เมื่อเปลี่ยนจากการนั่ง หรือนอนไปลุกขึ้นยืน
  • หัวใจเต้นเร็ว แต่อยู่ ๆ หัวใจก็หยุดเต้นตามด้วยเสียงตุ้บ ก่อนจะสลับกลับไปเต้นเร็วอีกครั้ง
  • อาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย (Fatique) รู้สึกไม่มีแรง
  • อาการเหนื่อยกว่าเดิม เหนื่อยเมื่อออกแรง ออกกำลังกาย จากบางสิ่งที่เคยทำได้ปกติ กลับเหนื่อยอ่อนขึ้นมา เช่นการเดินขึ้น - ลงบันได หรือเดินเร็วแล้วเหนื่อย
  • อาการเจ็บ หรือแน่นหน้าอก
  • อาการหายใจลำบาก เหงื่อออก มึนงง จะเป็นลมอยู่บ่อย ๆ 


 

การป้องกันตัวเองจากโรคภาวะหัวใจเต้นสั่นพริ้ว


ในปัจจุบันเรายังไม่สามารถป้องกันโรคภาวะหัวใจเต้นสั่นพริ้วได้อย่างแน่นอน แต่สิ่งที่เราพอทำได้คือการลดความเสี่ยงมากกว่า สำหรับผู้ที่กังวลว่าตัวเองเป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ได้ หรือผู้ที่เคยเป็นโรคหัวใจเต้นสั่นพริ้วมาก่อน ก็ควรที่จะรีบหลีกเลี่ยงปัจจัยที่จะทำให้อาการย่ำแย่ลงไปครับ ซึ่งสามารถทำได้โดยการ
  • งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ
  • งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • งดทานยาแก้หวัด
  • ปรับมาทานอาหารเพื่อสุขภาพ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • หมั่นตรวจเช็คสุขภาพ ระดับน้ำตาล และไขมันในกระแสเลือด
  • ควรมีการคัดกรองภาวะ A-Fib อยู่เป็นระยะ ๆ เช่นการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
 

วิธีดูแลตัวเอง เมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคภาวะหัวใจสั่นพริ้ว

หากตรวจพบว่าตัวเองเป็นโรคภาวะหัวใจสั่นพริ้วขึ้นมา สิ่งแรกที่ควรทำคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเรา เลิกทำสิ่งที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรค ไม่ว่าจะเป็นเหล้า เบียร์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน บุหรี่ รวมถึงการต้องเริ่มทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย เพื่อสร้างเสริมให้ทั้งสุขภาพกาย และสุขภภาพจิตของเราแข็งแกร่งพอสำหรับต่อสู้กับโรคนี้
 
นอกจากส่วนการพัฒนาตนเองแล้ว เราต้องศึกษาเรียนรู้ถึงโรคภาวะหัวใจสั่นพริ้วให้ดี ไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ และให้ความร่วมมือแก่แพทย์ในการเข้ารับการรักษา ไม่ว่าจะด้วยการรักษาด้วยการทานยา การจี้ไฟฟ้าหัวใจเพื่อทำลายวงจรของโรค หรือการจี้แบบเย็นจัด (Cryoablation) 

เทคโนโลยีของ Omron นวัตกรรมเพื่อสุขภาพ ตัวช่วยเฝ้าระวังโรคหัวใจ


 
Omron เป็นผู้นำทางด้านนวัตกรรมใหม่เพื่อสุขภาพสำหรับผู้คน ผ่านการสร้างประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีการตรวจจับ และการควบคุมสุขภาพต่าง ๆ โดย Omron ไม่เคยหยุดที่จะพัฒนาเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะด้านอุตสาหกรรม การผลิต และด้านสุขภาพ ในฐานะที่เป็นบริษัทผู้นำด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติระดับโลกจากประเทศญี่ปุ่น
 
ด้วยประสบการณ์มากกว่า 45 ปี Omron ได้พัฒนาและส่งมอบนวัตกรรมการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ผู้คนในทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเรื่องความปลอดภัย เรื่องการจัดการสุขภาพ หรือกระทั่งเรื่องสิ่งแวดล้อม เพราะหัวใจของ Omron คือการเข้ามาช่วยเหลือผู้คนในสังคม และปัญหาโรคหัวใจก็เป็นหนึ่งในปัญหานั้นเช่นกัน

ยิ่งในยุคสมัยของโลกอุตสาหกรรม 4.0 เช่นนี้ เทคโนโลยีของ Omron ก็ไม่ได้หยุดนิ่ง เราได้ทำการมองเห็นถึงโลก และการแก้ปัญหาแห่งอนาคต แม้กระทั่งโรคภาวะหัวใจสั่นพริ้ว ซึ่งเป็นโรคที่ตรวจจับและดูแลได้ยาก เทคโนโลยีของ Omron ก็จะสามารถเข้ามาช่วยดูแลสุขภาพของผู้ป่วยได้อยู่ดี เพราะหัวใจของ Omron คือการเป็นนวัตกรรมสำหรับผู้คนนั่นเอง

------------------------------------------------------------------------------

ติดต่อสอบถาม Omron Thailand โทร 02-021-5555
สั่งซื้อได้ที่ https://bit.ly/3jDK6Js 
กลับสู่หน้ากิจกรรม