คำถามที่ถามบ่อย
อุณหภูมิปกติของร่างกายคืออะไร?
อุณหภูมิปกติของร่างกายอยู่ในช่วง 36.5–37.5 องศาเซลเซียสโดยเฉลี่ย แม้ว่าอาจแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล (เพศ อายุ) นอกจากนี้ อุณหภูมิอาจแตกต่างกันไปตามกิจกรรมทางภายภาพ เวลาตลอดทั้งวัน และปัจจัยภายนอกต่างๆ เช่น อากาศเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิปกติของร่างกายอาจเปลี่ยนแปลงได้ระหว่างวัน โดยปกติแล้วจะสูงที่สุดในตอนเย็น อุณหภูมิของร่างกายมักเพิ่มขึ้นหลังจากทำกิจกรรมทางกายภาพ
อุณหภูมิของร่างกายเป็นสภาวะพื้นฐานในการทำงานตามปกติของเซลล์ โดยปรับเปลี่ยนไปตามอวัยวะภายในต่างๆ ภายใต้การควบคุมของระบบประสาทเพื่อรักษาสมดุลการสร้างความร้อนและการสูญเสียความร้อน กลไกนี้ (เรียกว่า การปรับอุณหภูมิกาย) ทำให้แน่ใจว่ามีการทำงานคงที่ของระบบต่างๆ ที่จำเป็นโดยรักษาอุณหภูมิภายในร่างกายให้อยู่ในระดับเหมาะสม
อุณหภูมิปกติของฉันคืออะไร?
อุณหภูมิปกติแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคลและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาในวันนั้น
ในการวัดอุณหภูมิปกตินั้น แนะนำให้วัดค่าตามปกติภายใต้สภาพต่อไปนี้
- วัดด้วยเทอร์โมมิเตอร์เดียวกัน
- วัดในพื้นที่เดียวกัน
- วัดในเวลาเดียวกัน
คลิก ที่นี่ เพื่อดูรายละเอียดของเทอร์โมมิเตอร์ออมรอน
การอ่านค่าอุณหูมิขึ้นอยู่กับส่วนของร่างกายที่อ่านค่าหรือไม่?
ใช่! การวัดค่าที่แม่นยำมากที่สุดคือการวัดอุณหภูมิทางทวารหนัก: 37.0-37.5 °C (98.6-99.5 °F) ขณะที่การวัดทางปากให้ผลต่ำกว่าเล็กน้อย: 36.8° ± 0.4 °C (98.2° ± 0.7 °F) การวัดบนผิวหนัง (รักแร้ หู หน้าผาก) ให้ค่าต่ำที่สุดในกลุ่ม: 36.5 °C (97.7 °F) เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิร่างกายค่อนข้างน้อย
คลิก ที่นี่ เพื่อดูรายละเอียดของเทอร์โมมิเตอร์ออมรอน
อาการไข้คืออะไร?
อาการไข้เป็นสัญญาณทางการแพทย์ของร่างกายที่บ่งบอกโดยอุณหภูมิร่างกายที่สูงขึ้นเกินระดับปกติ อาการไข้ไม่ถือว่ามีนัยสำคัญทางการแพทย์หากอุณหภูมิร่างกายไม่เกิน 38°C
อาการไข้เกิดจากการปล่อยสารเคมีบางชนิดของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งโดยปกติแล้วเป็นผลจากภาวะติดเชื้อหรืออักเสบ อาการไข้ทุกชนิดไม่จำเป็นต้องพบแพทย์ แต่ในรายที่เป็นเด็กเล็ก หากอุณหภูมิสูงขึ้นต่อเนื่องหรือหากมีอาการอื่นที่น่าเป็นห่วง ต้องรีบพบแพทย์
อาการไข้เกิดจากสาเหตุใด?
อาจเกิดจากหลายสาเหตุ: ส่วนใหญ่เกิดจากการโรคติดต่อ (เช่น ไข้หวัดใหญ่และปอดอัดเสบ) ไม่บ่อยครั้งนักที่เกิดจากภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล ความผิดปกติของระบบเผาผลาญ อาการอักเสบบางชนิด (เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์) หรือกระทั่งอาการผิวไหม้แดดขั้นรุนแรงหรือการให้ยาและการสร้างภูมิคุ้มกันโรคบางชนิด (วัคซีน)
บางครั้งก็ไม่สามารถระบุสาเหตุของอาการไข้ได้ หากอุณหภูมิร่างกายของคุณอยู่ที่ 38.3 C หรือสูงกว่าเป็นเวลาเกินกว่าสามสัปดาห์ และแพทย์ไม่สามารถหาสาเหตุได้หลังจากมีการประเมินอย่างละเอียดแล้ว อาจวินิจฉัยได้ว่าเป็นไข้ที่ไม่ทราบที่มา
ฉันจำเป็นต้องรักษาอาการไข้หรือไม่?
อาการไข้โดยตัวเองแล้วไม่ใช่อาการป่วย แต่เป็นกลไกการป้องกันตัวเอง
อย่างไรก็ดี หากอุณหภูมิสูงเกิน 39.4 °C อาจต้องดำเนินการบางอย่างเพื่อลดอุณหภูมิ ซึ่งหมายความว่า ร่างกายไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิภายในได้อีกต่อไป
อาจทำได้โดยใช้ยาลดไข้ (ยารักษาอาการไข้) หรือเช็ดตัวด้วยน้ำเย็น แพทย์ต้องระบุวิธีการรักษาจากสาเหตุที่แท้จริง อายุและสภาพของผู้ป่วย โรคติดต่อต้องให้ยาต้านแบคทีเรีย
แน่นอนว่า ต้องพยายามดื่มน้ำให้มากขึ้นเพื่อชดเชยภาวะขาดน้ำ
เด็กเล็กแม้จะมีอาการไข้ต่ำก็ตาม ต้องดูแลเป็นพิเศษและรักษาอาการโดยทันทีเพื่อลดอุณหภูมิของร่างกาย (เช็ดตัวด้วยน้ำเย็นหรือติดแผ่นลดไข้ก่อนให้ยา)
หากทารกอายุต่ำกว่า 4 เดือนมีอุณหภูมิที่วัดทางทวารหนักเกิน 38 °C ให้รีบพบแพทย์หรือนำตัวเข้าห้องฉุกเฉินทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ต้องดำเนินเช่นเดียวกันกับเด็กที่มีไข้เกิน 40 °C
เช็ดเทอร์โมมิเตอร์แบบแท่งด้วยแอลกอฮอล์ได้หรือไม่?
การฆ่าเชื้อโรคด้วยสารเคมี (รวมถึงแอลกอฮอล์) อาจทำให้พื้นผิวของผลิตภัณฑ์ผิดรูปไป ห้ามฆ่าเชื้อโรคด้วยสารเคมีทุกชนิด
สามารถทำความสะอาดเทอร์โมมิเตอร์แบบแท่งด้วยผ้าชุบสารทำความสะอาดที่เป็นกลาง
เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิจากหน้าผากรุ่น MC-720 ทำงานอย่างไร?
เทอร์โมมิเตอร์นี้วัดอุณหภูมิบนผิวหน้าผากโดยรับการแผ่อินฟาเรดของของผิวหนัง ณ จุดวัด จากนั้นคำนวณค่าที่เทียบเท่ากับวัดทางปากโดยใช้ขั้นตอนวิธีเฉพาะอ้างอิงจากข้อมูลสำรวจอุณหภูมิร่างกายจริง
ทำไมการวัดด้วยเทอร์โมมิเตอร์วัดทางหน้าผากจึงให้ค่าแตกต่างออกไป?
- ไม่ได้วัดในสถานที่เดียวกัน
- เลนส์หัววัดสกปรก
ทำไมอุณหภูมิที่วัดได้จากเทอร์โมมิเตอร์วัดหน้าผากจึงค่อนข้างสูง?
- เทอร์โมมิเตอร์เก็บไว้ในห้องที่เย็น เมื่อเก็บไว้ในห้องที่เย็น อุณหภูมิที่วัดได้จึงอาจค่อนข้างสูงหากวัดหลังจากนำเทอร์โมมิเตอร์เข้ามาในห้องที่มีอุณหภูมิปกติเพียงไม่นาน ให้วัดอุณหภูมิหลังจากทิ้งเทอร์โมมิเตอร์ไว้ในห้องที่จะใช้งานราว 30 นาที แนะนำให้เก็บเทอร์โมมิเตอร์ไว้ในห้องที่จะใช้วัดอุณหภูมิ
- เลนส์หัววัดโดนแสงแดดโดยตรง
- ทำการวัดหลังจากผู้ป่วยร้องไห้เพียงไม่นาน
- การร้องไห้อาจทำให้อุณหภูมิที่ใบหน้าสูงขึ้น
ทำไมอุณหภูมิที่วัดได้จากเทอร์โมมิเตอร์วัดหน้าผากจึงค่อนข้างต่ำ?
- ร่างกายมีเหงื่อออก ห้ามใช้เทอร์โมมิเตอร์ขณะตัวเปียกหลังจากว่ายน้ำ อาบน้ำ หรือเหงื่อออกจากการออกกำลังกาย เนื่องจากอุณหภูมิของผิวหนังอาจลดลง เช็ดตัวให้แห้งและรอ 30 นาทีจนกว่าร่างกายจะปรับเข้ากับอุณหภูมิห้องได้จึงเริ่มวัด
- เลนส์หัววัดสกปรก ใช้ก้านสำลีหรือสำลีชุบแอลกอฮอล์ 70% เช็ดทำความสะอาด
- ทำการวัดในโหมดอุณหภูมิพื้นผิว ใช้โหมดการวัดทางหน้าผาก
- ทำการวัดทันทีหลังจากเพิ่งออกไปสัมผัสอากาศเย็นภายนอก ให้รอจนกระทั่งหน้าผากอุ่นขึ้น
- การวัดในบริเวณอื่นที่มิใช่หน้าผาก
ต้องแน่ใจว่าวัดที่หน้าผากโดยตรง ไม่ใช่บริเวณรอบๆ ไรผม
จะฆ่าเชื้อโรคเทอร์โมมิเตอร์ที่วัดทางหูได้อย่างไร?
หัววัดเป็นส่วนที่ละเอียดอ่อนที่สุดของเทอร์โมมิเตอร์ที่วัดทางหู สำหรับตัวเทอร์โมมิเตอร์นั้น ให้เช็ดคราบสกปรกออกด้วยผ้าแห้งเนื้อนุ่ม ห้ามล้างตัวเทอร์โมมิเตอร์หรือทำความสะอาดด้วยน้ำยาทำความสะอาดที่มีฤทธิ์กัดกร่อน ทินเนอร์ หรือเบนซิน
สำหรับเซนเซอร์อินฟราเรดนั้น หากสกปรก ให้เช็ดเบาๆ ด้วยผ้าแห้งเนื้อนุ่ม หรือสำลีพันก้าน ห้ามเช็ดเซนเซอร์อินฟราเรดด้วยกระดาษทิชชู่หรือผ้าขนหนู