ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยองค์ประกอบหลายส่วน แต่ส่วนที่มีความสำคัญและมีปริมาณมากที่สุด คือมวลกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นโครงสร้างสำคัญที่ช่วยให้เราสามารถเคลื่อนไหวและทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ การวัดมวลกล้ามเนื้อจึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่บ่งบอกถึงสุขภาพโดยรวมของร่างกายของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความแข็งแรงและประสิทธิภาพการเผาผลาญพลังงาน มาเจาะลึกกันว่ามวลกล้ามเนื้อ คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรบ้าง ในบทความนี้
มวลกล้ามเนื้อ คืออะไร
มวลกล้ามเนื้อ (Muscle Mass) คือปริมาณหรือน้ำหนักรวมของกล้ามเนื้อทั้งหมดที่มีอยู่ในร่างกาย โดยไม่นับรวมส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น ไขมัน เส้นเอ็นหรือกระดูก ดังนั้นการชั่งน้ำหนักตัวจึงไม่สามารถบอกค่ามวลกล้ามเนื้อที่แท้จริงได้ เพราะน้ำหนักตัวรวมทุกส่วนประกอบในร่างกายเข้าไว้ด้วยกัน นั่นจึงทำให้บางครั้งคนที่มีน้ำหนักตัวมากกว่า อาจมีมวลกล้ามเนื้อน้อยกว่าคนที่มีน้ำหนักตัวน้อยก็เป็นได้ โดยปริมาณมวลกล้ามเนื้อที่มากขึ้นจะส่งผลให้ระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งมักพบในกลุ่มคนที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
มวลกล้ามเนื้อสำคัญอย่างไร?
ความสำคัญของการมวลกล้ามเนื้อจะแสดงถึงความสามารถในการเผาผลาญพลังงาน โดยประมาณ 80% ของการเผาผลาญในร่างกายเกิดขึ้นที่เซลล์กล้ามเนื้อ ขณะที่อีก 20% เกิดขึ้นในเซลล์อื่น ๆ เมื่ออายุมากขึ้น มวลกล้ามเนื้อจะลดลงตามธรรมชาติ โดยเฉพาะในผู้ที่ไม่ออกกำลังกายเลย นอกจากนี้ มวลกล้ามเนื้อยังมีความสำคัญอีก ดังนี้
- ช่วยชะลอการสูญเสียกล้ามเนื้อตามวัย
- ลดความเสี่ยงภาวะดื้ออินซูลิน
- ป้องกันโรคเบาหวาน
- ลดความเสี่ยงภาวะอ้วนลงพุง
- ป้องกันโรคกระดูกพรุน
- เพิ่มความแข็งแรงในชีวิตประจำวัน
ค่ามาตรฐานของมวลกล้ามเนื้ออยู่ที่เท่าไหร่
มวลกล้ามเนื้อที่เหมาะสมแตกต่างกันตามเพศและช่วงอายุ โดยทั่วไปควรวัดมวลกล้ามเนื้อและมีค่าอยู่ที่ 30 - 40% ของมวลกาย ทั้งนี้ ผู้หญิงมักมีค่ามวลกล้ามเนื้อน้อยกว่าผู้ชายประมาณ 10%
ค่ามาตรฐานของมวลกล้ามเนื้อของเพศชาย
- ผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 18 - 40 ปี วัดมวลกล้ามเนื้อจะมีค่าอยู่ที่ 33.4 - 39.4%
- ผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 41 - 60 ปี วัดมวลกล้ามเนื้อจะมีค่าอยู่ที่ 33.2 - 39.2%
- ผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 61 - 80 ปี วัดมวลกล้ามเนื้อจะมีค่าอยู่ที่ 33.0 - 38.7%
ค่ามาตรฐานของมวลกล้ามเนื้อของเพศหญิง
- ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 18 - 40 ปี วัดมวลกล้ามเนื้อจะมีค่าอยู่ที่ 24.4 - 30.2%
- ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 41 - 60 ปี วัดมวลกล้ามเนื้อจะมีค่าอยู่ที่ 24.2 - 30.3%
- ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 61 - 80 ปี วัดมวลกล้ามเนื้อจะมีค่าอยู่ที่ 24.0 - 29.8%
วิธีการคำนวณและวัดมวลกล้ามเนื้อ
การวัดมวลกล้ามเนื้อจำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่สามารถวัดองค์ประกอบร่างกายได้ ซึ่งจะแตกต่างจากเครื่องชั่งน้ำหนักทั่วไป เนื่องจากสามารถวัดและวิเคราะห์ได้ตั้งแต่น้ำหนักตัว มวลกล้ามเนื้อและไขมันในร่างกายต่าง ๆ ทั้งนี้ หากอยากคำนวณค่ามวลกล้ามเนื้อ สามารถคำนวณได้ ดังนี้
น้ำหนักตัวปัจจุบัน - (น้ำหนักปัจจุบัน x ไขมันปัจจุบัน) = ค่ามวลกล้ามเนื้อ
เช่น น้ำหนักปัจจุบัน 65 kg. วัดไขมันร่างกายอยู่ที่ 25% = 65 - (65 x 25%) จะได้ค่ามวลกล้ามเนื้ออยู่ที่ 48.75
อุปกรณ์ที่วัดกล้ามเนื้อได้มีอะไรบ้าง
ในปัจจุบันมีอุปกรณ์หลากหลายชนิดที่สามารถวัดมวลกล้ามเนื้อได้อย่างถูกต้อง เครื่องมือที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือ เครื่องวัดองค์ประกอบร่างกายระบบ BIA (Bioelectrical Impedance Analysis) ซึ่งใช้หลักการวัดค่าความต้านทานไฟฟ้าในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีเครื่อง DEXA Scan ที่ใช้เทคโนโลยีรังสีเอกซ์ในการวัด ซึ่งให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องและนิยมใช้ในสถานพยาบาล
ทั้งนี้สำหรับผู้ที่ต้องการวัดมวลกล้ามเนื้อที่บ้าน สามารถเลือกใช้เครื่องวัดไขมันแบบหนีบหรือ
เครื่องวัดมวลกล้ามเนื้อแบบใช้ที่บ้าน ซึ่งสะดวกต่อการใช้งานและมีราคาที่ย่อมเยากว่าได้ แม้ความถูกต้องอาจจะไม่สูงเท่าเครื่องมือระดับมืออาชีพ แต่ก็เพียงพอสำหรับการติดตามผลการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในระยะยาว
แนะนำ 6 เครื่องวัดมวลกล้ามเนื้อและองค์ประกอบร่างกาย OMRON
สำหรับผู้ที่กำลังมองหาเครื่องวัดมวลกล้ามเนื้อคุณภาพดีสำหรับใช้ที่บ้าน OMRON ถือเป็นแบรนด์ชั้นนำที่ได้รับความนิยมและความไว้วางใจจากผู้ใช้งานทั่วโลก ด้วยเทคโนโลยีการวัดที่ถูกต้อง ใช้งานง่าย และมีหลากหลายรุ่นให้เลือกตามความต้องการ วันนี้เราจะมาแนะนำ 6 รุ่นยอดนิยมที่เหมาะสำหรับการใช้งานในชีวิตประจำวัน พร้อมฟีเจอร์การใช้งานที่ครอบคลุมการวัดองค์ประกอบร่างกายอย่างครบถ้วน
เครื่องวัดมวลกล้ามเนื้อ รุ่น HBF-702T
เครื่องวัดมวลกล้ามเนื้อ OMRON รุ่น HBF-702T มาพร้อมเทคโนโลยี Full Body Sensing สามารถวัดและวิเคราะห์สัดส่วนร่างกายได้อย่างละเอียดและแม่นยำ ด้วยเซ็นเซอร์ถึง 8 จุด สามารถแสดงผลได้รวดเร็ว และยังมีระบบ Bluetooth สามารถเชื่อมต่อกับแอปสุขภาพ OMRON บนสมาร์ทโฟน เพื่อติดตามผลการวัดได้อย่างต่อเนื่องเลย
เครื่องวัดมวลกล้ามเนื้อ รุ่น HBF-375
อีกหนึ่งรุ่นยอดนิยมที่มีความถูกต้องสูง สามารถวัดค่าองค์ประกอบร่างกายได้อย่างครบถ้วน
เครื่องวัดมวลกล้ามเนื้อ OMRON รุ่น HBF-375 สามารถวัดและวิเคราะห์ได้ตั้งแต่น้ำหนักตัว ดัชนีมวลกาย (BMI) กล้ามเนื้อโครงร่างไปจนถึงไขมันตามสัดส่วนต่าง ๆ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการติดตามและจดบันทึกผลการลดน้ำหนัก เพราะสามารถดูค่าเฉพาะส่วนและการพัฒนาได้จากหน้าจอตัวเครื่อง
เครื่องวัดมวลกล้ามเนื้อ รุ่น HBF-255T
เครื่องวัดมวลกล้ามเนื้อ รุ่น HBF-255T ที่มีขนาดกะทัดรัด ใช้งานง่าย เหมาะสำหรับผู้เพิ่งเริ่มต้นดูแลสุขภาพ มีฟังก์ชันพื้นฐานครบครัน โดยสามารถวัดและวิเคราะห์น้ำหนักตัว ดัชนีมวลกาย (BMI) กล้ามเนื้อโครงร่างไปจนถึงไขมันตามสัดส่วนต่าง ๆ พร้อมทั้งสามารถเชื่อมต่อกับแอป OMRON Connect ที่จะช่วยบันทึกผลข้อมูลสุขภาพของคุณได้ นอกจากนี้ เครื่องชั่งน้ำหนักรุ่นนี้ ยังอีกฟังก์ชันลบน้ำหนัก ซึ่งจะเหมาะสำหรับการใช้ชั่งน้ำหนักเด็กทารกและสัตว์เลี้ยงอีกด้วย
เครื่องวัดมวลกล้ามเนื้อ รุ่น HBF-222T
เครื่องวัดมวลกล้ามเนื้อ รุ่น HBF-222T มาพร้อมประสิทธิภาพการวัดที่ถูกต้อง มี Bluetooth ที่สามารถเชื่อมต่อกับแอปสุขภาพ OMRON เพื่อแสดงผลและบันทึกผลได้ง่าย ๆ ไม่เพียงแต่ชั่งน้ำหนัดตัว แต่ยังสามารถวัดมวลกล้ามเนื้อและไขมัน รวมถึงการคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI) ได้จบในเครื่องเดียว
เครื่องวัดมวลกล้ามเนื้อ รุ่น HBF-224
เครื่องวัดมวลกล้ามเนื้อ OMRON รุ่น HBF-224 ที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยติดตามองค์ประกอบร่างกายได้อย่างครบครันและถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นน้ำหนักตัว ดัชนีมวลกาย (BMI) ไขมันในร่างกาย กล้ามเนื้อโครงร่างหรืออัตราเผาผลาญขณะพัก พร้อมฟังก์ชันบันทึกข้อมูลอัตโนมัติสำหรับผู้ใช้สูงสุด 4 คน และการแปลผลแบบกราฟิกที่เข้าใจง่าย อีกทั้งยังช่วยติดตามความคืบหน้าในการดูแลสุขภาพด้วยช่องว่างน้ำหนักจากค่าก่อนหน้า สะดวก รวดเร็วและช่วยให้คุณใกล้ชิดเป้าหมายสุขภาพมากขึ้น
สรุปบความ
การวัดมวลกล้ามเนื้อเป็นสิ่งสำคัญในการติดตามสุขภาพร่างกาย เพราะจะช่วยให้เราทราบถึงความแข็งแรงและประสิทธิภาพการเผาผลาญของร่างกาย มวลกล้ามเนื้อไม่เพียงแต่ช่วยในการเคลื่อนไหวร่างกาย แต่ยังช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ และชะลอความเสื่อมของร่างกายตามวัย ดังนั้น การเลือกใช้เครื่องวัดมวลกล้ามเนื้อที่เหมาะสมและการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้คุณสามารถดูแลสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
References
ไผทมาศ กิ่งชา. (2020). การสร้างกล้ามเนื้อนั้น สำคัญไฉน.
สืบค้นจาก
https://pt.mahidol.ac.th/ptcenter/knowledge-article/การสร้างกล้ามเนื้อนั้น/
HDmall Team. (2024). มวลกล้ามเนื้อคืออะไร มีค่ามาตรฐานเท่าไหร่ และวิธีคำนวณอย่างไร?.
สืบค้นจาก
https://hdmall.co.th/blog/c/what-is-muscle-mass-how-much-standard/