การจัดการอาการปวด

เครื่องกระตุ้นกล้ามเนื้อ คืออะไร บำบัดอะไรได้บ้าง

Feb 25, 2025

อาการปวดเมื่อยตามร่างกายได้ง่าย โดยเฉพาะบริเวณคอ บ่า และไหล่ เครื่องกระตุ้นกล้ามเนื้อจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการบำบัดอาการเหล่านี้ด้วยตัวเองที่บ้าน เทคโนโลยีการกระตุ้นด้วยไฟฟ้านี้ได้รับการพัฒนามาอย่างยาวนานและได้รับการยอมรับในวงการแพทย์ ด้วยประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการปวด ลดการอักเสบ และฟื้นฟูกล้ามเนื้อที่อ่อนแรง มาทำความรู้จักกับวิธีการรักษาที่ช่วยให้คุณกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ ในบทความนี้กัน 

การรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้า คืออะไร

เครื่องกระตุ้นกล้ามเนื้อเป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ใช้หลักการทางสรีรวิทยาของร่างกาย โดยอาศัยกระแสไฟฟ้าในการกระตุ้นการทำงานของเซลล์ ช่วยเพิ่มการสังเคราะห์โปรตีนเพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ เมื่อร่างกายได้รับการกระตุ้นด้วยไฟฟ้าจากภายนอก จะช่วยเร่งกระบวนการเมตาบอลิซึมและการลำเลียงสารอาหาร นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นการทำงานของเส้นประสาทส่วนปลาย ทำให้เกิดการตอบสนองและการตื่นตัวของระบบประสาท ซึ่งประสิทธิภาพในการรักษาจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ชนิดของกระแสไฟฟ้า ความเข้ม ความถี่และตำแหน่งที่ติดขั้วไฟฟ้า

ประเภทของการรักษาด้วยไฟฟ้าบำบัดมีอะไรบ้าง

การรักษาด้วยไฟฟ้าบำบัดสามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ของการรักษา ดังนี้

1. Transcutaneous electrical nerve stimulation (TENS)

TENS เป็นการใช้เครื่องกระตุ้นกล้ามเนื้อที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูงในการบรรเทาอาการปวด เครื่อง TENS ถูกออกแบบมาให้มีขนาดกะทัดรัด พกพาสะดวก ผู้ใช้สามารถพกติดตัวและใช้งานได้ตลอดเวลาที่ต้องการ การทำงานของ TENS จะส่งกระแสไฟฟ้าผ่านผิวหนังเพื่อกระตุ้นเส้นประสาท ช่วยบรรเทาอาการปวดได้อย่างมีประสิทธิภาพ


2. Electrical muscle stimulation (EMS)
EMS เป็นการใช้เครื่องกระตุ้นกล้ามเนื้อเพื่อรักษากล้ามเนื้อที่ขาดเส้นประสาทมาเลี้ยง โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อรักษาสภาพของกล้ามเนื้อและชะลอการฝ่อลีบ นอกจากนี้ยังช่วยในการฟื้นฟูการทำงานของกล้ามเนื้อที่ขาดเส้นประสาทมาเลี้ยงบางส่วน ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการเรียนรู้การทำงานใหม่ และคงสภาพความแข็งแรงไว้ได้

3. Electrical stimulation for tissue repaired (ESTR) 
ESTR เป็นการใช้เครื่องกระตุ้นกล้ามเนื้อเพื่อช่วยในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่ได้รับบาดเจ็บ โดยกระแสไฟฟ้าจะช่วยลดอาการบวม เพิ่มการไหลเวียนเลือด และเร่งกระบวนการสมานแผล ทำให้เนื้อเยื่อที่ได้รับบาดเจ็บฟื้นตัวได้เร็วขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อและต้องการเร่งการฟื้นฟู

4. Neuromuscular electrical stimulation (NMES)
NMES เป็นการใช้เครื่องกระตุ้นกล้ามเนื้อสำหรับกล้ามเนื้อที่มีเส้นประสาทมาเลี้ยงปกติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อ ทั้งในด้านการเพิ่มความแข็งแรง การลดการเกร็งตัว และการป้องกันการฝ่อลีบจากการไม่ได้ใช้งาน นอกจากนี้ยังมีประโยชน์อย่างมากในกรณีที่มีการย้ายเส้นเอ็นหรือกล้ามเนื้อ เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อเรียนรู้การทำงานในรูปแบบใหม่

5. Functional electrical stimulation (FES)
FES เป็นการประยุกต์ใช้เครื่องกระตุ้นกล้ามเนื้อเพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวและท่าทางในการทำกิจกรรมต่างๆ สามารถใช้ได้ทั้งในกล้ามเนื้อที่มีและไม่มีเส้นประสาทมาเลี้ยง การทำงานของ FES จะเปรียบเสมือนเป็นอุปกรณ์พยุง (orthotic) ที่ช่วยกระตุ้นให้กล้ามเนื้อส่วนที่ต้องการเกิดการเคลื่อนไหวตามที่ต้องการ เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาในการควบคุมการเคลื่อนไหว

6. Iontophoresis
Iontophoresis เป็นเทคนิคพิเศษที่ใช้เครื่องกระตุ้นกล้ามเนื้อร่วมกับการนำส่งยาหรือสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย โดยอาศัยคุณสมบัติของกระแสไฟฟ้าในการผลักดันตัวยาที่มีประจุผ่านผิวหนังเข้าสู่เนื้อเยื่อเป้าหมาย วิธีนี้นิยมใช้ในการรักษาอาการปวดเฉพาะที่ การลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ และการรักษาโรคผิวหนังบางชนิด 

เครื่องกระตุ้นกล้ามเนื้อสามารถรักษาอาการอะไรได้บ้าง

ครื่องกระตุ้นกล้ามเนื้อสามารถใช้รักษาอาการต่าง ๆ ได้หลากหลาย โดยเฉพาะปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบกล้ามเนื้อและเส้นประสาท ได้แก่ 
  • อาการออฟฟิศซินโดรม เช่น ปวดคอ ปวดบ่า ปวดสะบัก
  • อาการปวดหลังจากหมอนรองกระดูกเคลื่อนหรือทับเส้นประสาท
  • อาการปวดสะโพกร้าวลงขา
  • ปัญหากล้ามเนื้อเกร็งเรื้อรัง
  • อาการปวดจากการบาดเจ็บของเส้นประสาท
โดยการรักษาจะใช้กระแสไฟฟ้าแบบเป็นช่วงที่มีความถี่ต่ำ ซึ่งสบายผิวและไม่ระคายเคือง ช่วยคลายกล้ามเนื้อทั้งชั้นตื้นและชั้นลึก ผู้รับการรักษาจะรู้สึกถึงการสั่นสบาย ๆ และการคลายตัวของกล้ามเนื้อโดยไม่รู้สึกเจ็บปวด
 

ข้อดีของการรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นกล้ามเนื้อ

  • ฟื้นฟูและซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหาย
  • ลดอาการปวดและบวม
  • เพิ่มการไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลือง
  • เสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่อ่อนแรง
  • ลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
  • เร่งการสมานแผลให้หายเร็วขึ้น
  • กระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อที่ขาดเส้นประสาท
  • ช่วยควบคุมอาการบวมและการอักเสบ

การกระตุ้นไฟฟ้าสามารถทำได้ด้วยตัวเองได้หรือไม่

ปัจจุบัน เทคโนโลยีเครื่องกระตุ้นกล้ามเนื้อ ประเภท TENS ได้รับการพัฒนาให้ใช้งานง่ายมากขึ้น โดยเฉพาะเครื่องกระตุ้นกล้ามเนื้อ ประเภท TENS จาก OMRON เครื่องให้การกระตุ้นเส้นประสาทผ่านผิวหนัง ที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานที่บ้านหรือสำหรับพกพาไปใช้ในที่ต่าง ๆ ด้วยระบบควบคุมมาตรฐานจากประเทศญี่ปุ่น ผู้ใช้สามารถบรรเทาอาการปวดเมื่อยได้ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นอาการออฟฟิศซินโดรม ปวดคอ บ่า ไหล่ หรือหลัง ด้วย มีโปรแกรมการรักษาที่หลากหลาย พร้อมคำแนะนำการใช้งานที่ละเอียด ทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกโปรแกรมที่เหมาะสมกับอาการของตนเองได้ 

สรุป

เครื่องกระตุ้นกล้ามเนื้อมีหลากหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็ถูกออกแบบมาเพื่อจุดประสงค์ในการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งอุปกรณ์ชนิดนี้ก็จะมีประเภทที่ถูกออกมาให้ใช้งานได้ง่าย ๆ ที่บ้าน โดยจะมีประสิทธิภาพในการบำบัดอาการปวดและฟื้นฟูกล้ามเนื้อ สามารถหยิบมาใช้บรรเทาอาการในชีวิตประจำวันได้ ถือเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ใส่ใจในการดูแลสุขภาพด้วยตนเองที่บ้านได้เช่นกัน
 

References
LePhysio Clinic. (ม.ป.ป.). TENS – Transcutaneous Electrical Nerve Stimulation.
สืบค้นจาก https://lephysioclinic.com/tens-transcutaneous-electrical-nerve-stimulation/  
Newtonem Clinic. (ม.ป.ป.). การรักษาด้วยไฟฟ้า กายภาพบำบัดทั้ง 6 แบบมีอะไรบ้าง.
สืบค้นจาก https://newtonemclinic.com/การรักษาด้วยไฟฟ้า-electrotherapy/ 
ReBRAIN. (2021). เครื่องกระตุ้น เส้นประสาทด้วยไฟฟ้าผ่านผิวหนัง (TENs) สามารถใช้ลดอาการปวดได้อย่างไร.
สืบค้นจาก https://www.rebrain-physio.com/เครื่องกระตุ้น/ 
วิดีโอยอดนิยม
ติดตามเรา
|ถูกใจ
วิดีโอยอดนิยม
ติดตามเรา
|ถูกใจ